ความรู้

การเดินทางของศาสตร์แพทย์แผนไทย การเดินทางของศาสตร์แพทย์แผนไทย

ผู้ผลิตชั้นนำที่เล็งเห็นถึงศักยภาพระดับสากลของการแพทย์แผนไทยที่จะสืบทอดต่อไปในศตวรรษหน้า ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศไทย ภูมิปัญญาจากศตวรรษที่ผ่านมา ความรู้ที่สำคัญซึ่งได้รับการสืบทอดและพัฒนาต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น

ศิลาจารึกของอาณาจักรขอมประมาณปี พ.ศ. 1725-1729

ได้มีการค้นพบประวัติการแพทย์แผนโบราณในประเทศไทย
สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลโดยการสร้างสถานพยาบาล เรียกว่า “อโธคยาศาลา”
โดยมีผู้ทำหน้าที่รักษาพยาบาล รวม 92 คน มีพิธีกรรมบวงสรวงพระไภสัชยคุรุไวฑูรย์
ด้วยยาและอาหารก่อนแจกจ่ายไปยังผู้ป่วย

ยุคสุโขทัย ยุคสุโขทัย

มีการค้นพบหินบดยาสมัยทวาราวดี ซึ่งเป็นยุคก่อนสมัยสุโขทัย และได้พบศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่จารึกไว้ว่าทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาดใหญ่บนเขาหลวงหรือเขาสรรพยา ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอคีรีมาศ เพื่อให้ประชาชนไปเก็บสมุนไพรมาใช้รักษาเวลาเจ็บป่วย

Vertical

ยุคอยุธยา ยุคอยุธยา

การแพทย์แผนไทยในยุคนี้ได้รับอิทธิพลจากการแพทย์ของอินเดียที่เรียกว่า อายุรเวท ซึ่งเป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดียเป็นสำคัญ มีคัมภีร์แพทย์ที่กล่าวกันว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์ ที่เป็นแพทย์ประจำตัวของพระพุทธเจ้าเป็นผู้แต่ง ซึ่งมีเป้าหมายที่สภาวะสมดุลของธาตุ 4 อันเป็นองค์ประกอบของชีวิตผู้ที่จะเป็นแพทย์ได้ต้องมีวัตรปฏิบัติที่งดงามในทุกด้าน มีความกตัญญูรู้คุณครูบาอาจารย์ และนับถือว่าครูดั้งเดิมคือพระฤาษี สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พบว่า มีหมอหลวงในราชสำนัก จากทำเนียบศักดินาข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ที่ตราขึ้นในปี พ.ศ.1998 ระบุว่า มีข้าราชการในกรมแพทยา โรงพระโอสถ กรมหมอยา กรมหมอนวด กรมยาตา กรมหมอวรรณโรค สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พบบันทึกว่า มีระบบการจัดหายาที่ชัดเจน

สำหรับประชาชนจะมีแหล่งจำหน่ายยาและสมุนไพรหลายแห่งทั้งในและนอกกำแพงเมือง มีตำรับยาซึ่งถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย ชื่อว่า “ตำราพระโอสถพระนารายณ์” เป็นการรวบรวมตำรับยาที่หมอในราชสำนักปรุงถวายพระมหากษัตริย์ในยุคนั้น มีการอธิบายสมุฏฐานแห่งโรคตามหลักทฤษฎีธาตุทั้งสี่ โดยกล่าวอ้างอิงถึงคัมภีร์มหาโชติรัตน์และคัมภีร์โรคนิทานซึ่งถือกันว่าเป็นคัมภีร์แพทย์ที่สืบทอดมาแต่โบราณกาล ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ยังระบุว่า หมอในราชสำนักที่ปรุงยาถวายพระมหากษัตริย์มีทั้งสิ้น 9 คน เป็นหมอสยาม 5 คน ที่เหลือเป็นหมอจีน 1 คน หมอแขก 1 คน และหมอฝรั่ง 2 คน โดยในจำนวนนี้เป็นหมอหลวงที่รับราชการ 7 คน และหมอที่มิได้รับราชการ 2 คน

Vertical

ยุครัตนโกสินทร์ ยุครัตนโกสินทร์

มีการค้นพบหินบดยาสมัยทวาราวดี ซึ่งเป็นยุคก่อนสมัยสุโขทัย และได้พบศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่จารึกไว้ว่าทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาดใหญ่บนเขาหลวงหรือเขาสรรพยา ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอคีรีมาศ เพื่อให้ประชาชนไปเก็บสมุนไพรมาใช้รักษาเวลาเจ็บป่วย

ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธารามหรือวัดโพธิ์เป็นพระอารามหลวงโดยให้ชื่อว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงให้รวบรวมและจารึกตำรายาและฤาษีดัดตน ตำรานวดแผนไทยไว้ตามศาลาราย
มีการจัดตั้งกรมหมอโรงพระโอสถ ผู้รับราชการเรียกว่า “หมอหลวง” ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ หมอหลวงแบ่งเป็นฝ่ายในและฝ่ายนอก หมอหลวงฝ่ายใน
มีหน้าที่ดูแลพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ที่อยู่ในพระบรมมหาราชวังตลอดจนข้าราชบริพารผู้ที่เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย หมอหลวงฝ่ายนอกมีหน้าที่ดูแลพระบรมวงศานุวงศ์
ซึ่งไม่ได้อยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน

การแต่งตั้งหมอหลวงในระยะแรกสันนิษฐาน ว่า คัดเลือกมาจากหมอราษฎร์ที่มีความรู้ความชำนาญเข้ามารับราชการ รวมทั้งคัดเลือกเชื้อพระวงศ์ที่มีความรู้ความชำนาญในด้านการแพทย์เป็นผู้กำกับดูแลกรมหมอ
ต่อมามีการฝึกหัดบุตรหลานของหมอหลวง เริ่มตั้งแต่ให้เป็นลูกหมู่อยู่ในกรมหมอ และเลื่อนชั้นขึ้นตามลำดับ

เนื่องจากสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 ยังมิได้จัดให้มีการบริการทางการแพทย์แก่ประชาชนโดยทั่วไป และการแพทย์ในราชสำนักก็มุ่งที่จะให้บริการแก่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารเท่านั้น ดังนั้น

การแพทย์ในส่วนของภาคประชาชนจึงต้องพึ่งพาอาศัยหมอที่มิได้รับราชการ ที่เรียกว่า “หมอราษฎร์” หมอเชลยศักดิ์ หมอกลางบ้าน และหมอพระ หมอราษฎร์ส่วนหนึ่งเป็นหมอที่สืบทอดความรู้มาจากบรรพบุรุษ

ส่วนหนึ่งอาจเป็นพวกที่ศึกษาจากตำราแพทย์แล้วออกหาประสบการณ์ลองผิดลองถูกด้วยตนเอง หมอราษฎร์ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงหรือหัวเมืองใหญ่ ๆ ใช้วิชาการแพทย์ตามหลักคัมภีร์แพทย์ที่สืบทอดกันมา เช่นเดียวกับหมอหลวง หมอราษฎร์ตามหัวเมืองที่มีความรู้สามารถที่จะเข้ารับราชการเป็นหมอประจำเมืองในกรมหมอหลวงของเมืองใหญ่ ๆ เช่น นครศรีธรรมราช เป็นต้น

ทรงให้รวบรวมคัมภีร์แพทย์ที่กระจัดกระจายมารวบรวมไว้ ณ โรงพระโอสถ และให้กรมหมอหลวงคัดเลือกจดเป็นตำราหลวง สำหรับโรงพระโอสถเพื่อประโยชน์ของประชาชน ในปีพ.ศ. 2359
มีพระราชโองการโปรดเกล้าให้ตรากฎหมาย ชื่อ“กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย” ให้อำนาจพนักงานมีอำนาจออกไปค้นหาพระโอสถ คือ สมุนไพร ที่ปรากฎมีอยู่ในแผ่นดิน ผู้ใดจะคัดค้านมิได้ พนักงาน
พระโอสถจึงมีอำนาจในการค้นหายา และมักจะเป็นผู้ที่อยู่ในตระกูลสืบทอดกันมาเท่านั้น

ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาบำเรอราชแพทย์ ที่เป็นแพทย์ประจำราชสำนัก เป็นแม่กองจัดประชุมหมอหลวงแต่งตำราและบันทึกตำรายาแผนโบราณต่างๆ พร้อมทั้งได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดราชโอรสาราม
และจารึกตำราไว้ในแผ่นศิลา ตามเสาระเบียงพระวิหาร รวมทั้งทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมมังคลาราม (วัดโพธิ์) อีกครั้ง ให้จารึกตำรายาไว้บนหินอ่อนประดับไว้ตามผนังโบสถ์ ศาลาราย รอบเจดีย์สี่องค์ของวัด
เป็นตำราบอกสมุฏฐานของโรค และวิธีบำบัด ทรงให้นำสมุนไพรที่ใช้ปรุงยาและหายากมาปลูกไว้ ทั้งให้ปั้นรูปฤาษีดัดตนในท่าต่างๆ เพื่อให้ราษฎรได้ศึกษาและนำไปใช้ในการรักษาตน โดยมิหวงห้ามไว้ในตระกูลใด
นับได้ว่าเป็นโรงเรียนแพทย์แผนโบราณแห่งแรก คือ “วิทยาลัยการแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์” ถือว่าเป็น “มหาวิทยาลัยเปิด” แห่งแรกในประเทศไทย

การแพทย์ของประเทศไทยในสมัยนี้ แยกออกอย่างชัดเจนเป็นสองแผน คือ การแพทย์แผนเดิมหรือแผนโบราณ และการแพทย์แผนปัจจุบัน มีการกำหนดข้าราชการฝ่ายวังหน้าที่เกี่ยวกับการแพทย์ ได้แก่ ข้าราชการในกรมหมอ กรมหมอยา กรมหมอนวด กรมหมอกุมาร กรมหมอยาตา หมอฝรั่ง

อาคารโรงเรียนแพทยากร (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นราชแพทยาลัย)

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนแพทยากรขึ้นที่ศิริราชพยาบาล ในปี พ.ศ. 2433 เพื่อจัดการสอนเรื่องแพทย์ มีหลักสูตร 3 ปี การเรียนมีทั้งวิชาแพทย์แผนตะวันตก และแพทย์แผนไทย
ในส่วนของแผนไทยนั้น มีหม่อมเจ้าเจียก ทินกร เจ้ากรมแพทย์สำนักพระราชวังหลวงเป็นอาจารย์สอน มีการพิมพ์ตำราแพทย์สำหรับใช้ในโรงเรียนเล่มแรก
คือ แพทยศาสตร์-สงเคราะห์ (ฉบับหลวง) ในปี พ.ศ. 2438 เนื้อหามีทั้งการแพทย์แผนตะวันตกและแผนไทย ซึ่งแผนไทยนั้นนอกจากจะใช้ตำราหลวงในหอสมุดวชิรญาณเรียนแล้ว ภาควิชาหัตถศาสตร์
หรือตำรานวดแบบหลวง ทรงโปรดเกล้าให้แพทย์หลวงชำระและแปลตำราแพทย์จากบาลี สันสกฤตเป็นภาษาไทย ต่อมาหม่อมเจ้าปราณีได้เรียบเรียงตำราขึ้นใหม่ให้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น มีตำราธาตุวินิจฉัย
สมุฏฐานวินิจฉัย ธาตุอภิญญาณ อสุรินทญาณธาตุ ปฐมจินดา โรคและยาต่าง ๆ หลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนแพทย์ที่มีการเรียนแผนไทยร่วมด้วย มีระยะเวลาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2436 จนถึง พ.ศ. 2458

การปรุงยาแผนโบราณ ในสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณหน้าโรงพยาบาลศิริราช

ถือว่าเป็นช่วงตกต่ำของวงการแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์แผนโบราณ มีการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาของแพทย์ มีการยกเลิกการเรียนวิชาการแพทย์ไทย โดยให้เหตุผลว่า

การสอนวิชา การแพทย์ตามแบบไทยนั้นไม่เข้ากับแบบฝรั่ง

มีประกาศ พ.ร.บ.การแพทย์ พ.ศ.2466 และออกกฎเสนาบดี พ.ศ.2472 แบ่งการประกอบโรคศิลปะ เป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ กำหนดว่า ก. ประเภทแผนปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะ

โดยความรู้จากตำราอันเป็นหลักวิชาโดยสากลนิยม ซึ่งดำเนินและจำเริญขึ้น อาศัยการศึกษา ตรวจค้น และทดลองของผู้รู้ ในทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ข. ประเภทแผนโบราณ คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะ

โดยอาศัยความสังเกตความชำนาญ อันได้บอกเล่าสืบต่อกันมาเป็นที่ตั้ง หรืออาศัยตำราที่มีมาแต่โบราณ มิได้ดำเนินไปทางวิทยาศาสตร์ การออกกฏเสนาบดีนี้เป็นเหตุให้การแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์

แผนโบราณแยกขาดจากกันอย่างสิ้นเชิง และทำให้มีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

มีการยกเลิก พ.ร.บ.การแพทย์ พ.ศ.2466 แล้วตรา พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2479 ขึ้นมาใช้แทน อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ยังคงแบ่งการประกอบโรคศิลปะเป็นแผน

ปัจจุบันและแผนโบราณ และมีผลต่อการควบคุมวิชาชีพทางการแพทย์อย่างยาวนานต่อเนื่องถึง 63 ปี ในรัชสมัยนี้ มีการศึกษาวิจัยสมุนไพรเพิ่มขึ้น เนื่องจากในระหว่างปี พ.ศ. 2485 – 2486

ขณะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการลุกลามเข้ามาในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนยา ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ได้ทำวิจัยสมุนไพรที่ใช้รักษาไข้มาลาเรียที่โรงพยาบาลสัตหีบ

หลังสงครามโลกสงบลง ยังคงมีปัญหาขาดแคลนยาแผนปัจจุบัน รัฐบาลจึงมีนโยบายให้โรงงานเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุขนำสมุนไพรมาผลิตเป็นยารักษาโรค

ในปี พ.ศ. 2498 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณสิริ) ได้ก่อตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ด้านการแพทย์แผนโบราณ

มีการสอนทั้งวิชาเภสัชกรรม, เวชกรรม และการผดุงครรภ์ไทย และการนวดแผนโบราณ ตามกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ปีพ.ศ. 2542 มีการประกาศ พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ที่มีการแก้ไขสาระสำคัญหลายประการที่เอื้อต่อการพัฒนาการแพทย์แผนไทยมากขึ้น เช่น เปลี่ยนชื่อการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ

เป็นการแพทย์แผนไทย

ในปีพ.ศ. 2524 ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์ ได้ก่อตั้งอายุรเวทวิทยาลัยขึ้น เพื่อผลิตแพทย์แผนโบราณรุ่นใหม่ โดยสอนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพควบคู่ไปกับวิชาการแพทย์แผนโบราณ สอนทั้งเวชกรรม

เภสัชกรรม การผดุงครรภ์ และการนวดแบบราชสำนัก ซึ่งหลักสูตรใช้เวลาศึกษา 3 ปี และแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่เรียนจบหลักสูตรนี้สามารถสอบใบประกอบโรคศิลปะได้

พ.ศ. 2528 ถือได้ว่าเป็นจุดเปลื่ยนของวงการแพทย์แผนไทย   จากการที่กลุ่มศึกษาปัญหายา มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา มูลนิธิหมอชาวบ้าน คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน

ร่วมกับ สมาคมแพทย์แผนโบราณต่าง ๆ ได้จัดสัมมนาฟื้นฟูการนวดไทยเป็นครั้งแรก และได้ก่อตั้ง โครงการฟื้นฟูการนวดไทย เพื่อทำกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่การนวดไทยแก่ประชาชนให้สามารถนำไปใช้เพื่อทดแทน

การใช้ยาแก้ปวดเกินจำเป็น เสริมศักยภาพของหมอนวดไทยจากสำนักต่าง ๆ รวมทั้งหมอนวดอิสระ โครงการนี้มีส่วนทำให้มีการใช้การนวดไทยแพร่หลายมากขึ้นในหมู่ประชาชนและมีการนำการนวดไทยไปใช้

ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐในเวลาต่อมา  ประกอบกับกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำโครงการสมุนไพรกับการสาธารณสุขมูลฐาน โดยความร่วมมือของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมัน เน้นการทดลองใช้

สมุนไพร 5 ชนิดในคลินิกของโรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการใช้ยาสมุนไพรและยาแผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐในเวลาต่อมาด้วยเช่นกัน

พ.ศ. 2532 กระทรวงสาธารณสุข โดยมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการพัฒนาการแพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อทำหน้าที่วางนโยบาย

และแนวทางเกี่ยวกับการพัฒนาการแพทย์แผนไทย เอื้ออำนวย ประสานงาน และให้การสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานและสถาบันต่าง ๆ ให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม ศูนย์ประสานงานฯ ที่เกิดขึ้นนี้

ได้เริ่มวางรากฐานการพัฒนาการแพทย์แผนไทยโดยการประสานความร่วมมือจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และฝ่ายวิชาชีพ ต่อมาในปี พ.ศ.2536 หน่วยงานนี้ได้โอนไปรวมกับสถาบันการแพทย์แผนไทย 

ซึ่งจัดตั้งขึ้นในสังกัดกรมการแพทย์ ต่อมาได้ย้ายไปสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามลำดับ

ปัจจุบันการแพทย์แผนไทยได้แบ่งออกเป็น 4 สาขา

สาขาเวชกรรมไทย
1

เป็นการตรวจ การวินิจฉัยโรค เพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรคตาม
แนวทางของการแพทย์แผนไทย จากนั้นจึงทำการบำบัดหรือรักษา หรือป้องกันด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย

สาขาเภสัชกรรมไทย
2

เป็นการเตรียมยา การผลิตยาแผนไทย ด้วยกรรมวิธีการแพทย์ แผนไทย

สาขาผดุงครรภ์ไทย
3

เป็นการดูแลสุขภาพของมารดาและเด็กในครรภ์ ตั้งแต่ก่อนคลอดการทำ คลอด พร้อมทั้งการดูแลและส่งเสริมสุขภาพมารดาและ เด็กในระยะหลัง คลอด แต่ในปัจจุบันหน้าที่ในการทำคลอด

แบบแผนไทยมีน้อยลง แต่จะเน้นในการดูแลสุขภาพของ มารดา หลังคลอดมากขึ้น

สาขาการนวดไทย
4

เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ ที่มีมาตั้งแต่โบราณกาล เกิดขึ้นจากสัญชาตญาณ เบื้องต้นของ การอยู่รอดเมื่อมีอาการปวดเมื่อยหรือเจ็บป่วยตนเองหรือ ญาติมิตรมักจะบีบนวดบริเวณ ดังกล่าวนั้น ทำให้อาการปวดเมื่อยคลายลง ในครั้งแรกๆ เป็นไปโดยมิได้ตั้งใจ ต่อมาเริ่ม สังเกตเห็นผลของการบีบนวด ในบางจุดหรือบางวิธีที่ได้ผล จึงเก็บไว้เป็นประสบการณ์ และกลายเป็น ความรู้ที่สืบทอดกันต่อๆ มา

การนวดไทยปัจจุบัน มีทั้งการนวดเพื่อการ รักษาอาการเจ็บป่วย การนวดเพื่อสุขภาพ และการนวดเพื่อเสริมสวย ในบางคนอาจจะมีการใช้ ยาสมุนไพรควบคู่ไปด้วยก็มี เช่น ให้รับประทานยา สมุนไพร หรือ ในระหว่างการนวดอาจจะมีการประคบด้วยลูกประคบ สมุนไพรด้วยก็ได้

ส่วนผสมของเรา

เสลดพังพอน300x300
พริก300x300
ไพล300x300
4.เถาเอนอ่อน
พริกไทยดำ300x300
กระวาน300x300
ว่านเปราะหอม300x300
ตะไคร้300x300
สมุลแว้ง300x300
ใบบัวบก300x300
ผักคราดหัวแหวน300x300
ดอกจันเทศ300x300